Sunday, April 13, 2014

อ้างอิง

เอกสารอ้างอิง (REFERENCES)
กรมทรัพยากรธรณี. (2550). ธรณีวิทยาประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย
กรมทรัพยากรธรณี. (2550). ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด
ไชยกาล  ไชยรังษี. สมศักดิ์ มาเจริญทรัพย์ และนิกร นครศรี, (ม.ป.ป.). รายงานธรณีวิทยาและ
แหล่งแร่ ระวางบ้านสูบ (5344 II). กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี.
เพียงตา  สาตรักษ์. (2552). ธรณีวิทยาโครงสร้าง (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เพียงตา  สาตรักษ์ และณัฐวิโรจน์  ศิลารัตน์. คู่มือปฏิบัติการธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยา
ภาคสนาม: โครงสร้างและแผนที่ธรณีวิทยา. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เพียงตา  สาตรักษ์. (2551). หลักและวิธีสำรวจธรณีวิทยาภาคสนาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น:
ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาวดี  วิมุกตะนันทน์. (2527)แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดเลย มาตราส่วน 1:250,000. กรุงเทพฯ:
กรมทรัพยากรธรณี.
สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์. (2536). บรรพชีวินวิทยาทั่วไป. ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์    
                มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อดุลย์ เจริญประวัติ และคณะ. (2519). แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: กองธรณีวิทยา
กรมทรัพยากรธรณี.
Nichols, G. (2001). Sedimentology and Stratigraphy. Oxford: Blackwell Scientific
                Publications. 355 p.
Pitakpaivan,  K. et al, (1969). Fossil of Thailand. Geological Survey Division, Department of  
                Mineral Resources, Bangkok.
กรมทรัพยากรธรณี. (2553). แหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาจังหวัดเลย [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก 
                http://www.drm.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล :วันที่ 5 มีนาคม 2555 )
กรมแผนที่ทหาร (2550). แสดงแผนที่ภูมิประเทศ[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  
                www.rtsd.mi.th/sections/Geo/.  (วันที่ค้นข้อมูล :วันที่ 5 มีนาคม 2555 )
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2542). ข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา (พ.ศ.2542-2551) [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  
                http://www.tmd.go.th/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล :วันที่ 5 มีนาคม 2555 )
มุมการจัดการความรู้ศูนย์วิจัยข้าวชุมเเพ. (2553). ลักษณะภูมิอากาศ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก  
               http://cpa.brrd.in.th/km/.  (วันที่ค้นข้อมูล :วันที่ 5 มีนาคม 2555 )
Alden, A. (2008). Igneous Rock Classification Diagrams [online]. Retrieved April  30 , 2012 

                from http://geology.about.com/od/more_igrocks/ig/igroxdiagrams/QAPplutonic.htm

บทสรุปและข้อเสนอแนะ (CONCLUSION AND RECOMMENDATION) credit ขายอาหารเสริม

การศึกษาทางธรณีวิทยาครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของระวาง 5344 II บ้านสูบ จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 125 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจทางธรณีวิทยาในพื้นที่ที่ศึกษาสามารถแบ่งหน่วยหินโดยอาศัยลักษณะเนื้อหิน สภาพแวดล้อมการเกิด ตลอดจนการใช้อายุโดยเทียบเคียงจากซากบรรพชีวินและความสัมพันธ์ทางธรณีวิทยาโครงสร้างสามารถแบ่งหน่วยหินได้ทั้งหมด 19 หน่วยหินโดยเป็นหินตะกอน (sedimentary  rocks) ทั้งหมด  15  หน่วยหิน หินอัคนี จำนวน 3 หน่วยหิน และหินแปร 1หน่วยหิน มีการแสดงขอบเขตหน่วยหินตามแผนที่ธรณีวิทยาที่แนบมากับรายงานนี้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับศิลาลักษณ์ของหน่วยหินต่างๆโดยอธิบายหน่วยหินได้ดังนี้ // ขายอาหารเสริม
11.1 หินตะกอน (Sedimentary rocks) // ขายอาหารเสริม
ประกอบด้วยหน่วยหิน 10 หน่วยหิน โดยอธิบายจากอายุแก่ไปอ่อน ดังนี้ // ขายอาหารเสริม
กลุ่มศิลาลักษณ์ดีโวเนียนตอนบน  (Upper Devonian) //ขายอาหารเสริม
หน่วยหินเอหนึ่ง  (Unit A1) : หินเชิร์ต (Chert) // ขายอาหารเสริม
พบหินเชิร์ต ที่มีแนวการคดโค้ง ( Chert Fold ) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่ทั้งหมด พบบริเวณภูถนน และทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ที่ทำการศึกษา ลักษณะภูมิประเทศของหน่วยหินนี้มีภูมิประเทศแบบเทือกเขาวางตัวในแนวเหนือ – ใต้ ซึ่งเป็นลักษณะของภูถนน และลักษณะภูมิประเทศแบบที่ราบสลับลอนคลื่น
การลำดับชั้นหิน เนื่องจากพบหินเชิร์ตซึ่งเกิดการตกสะสมตัวของสารละลายซิลิกา แสดงว่ามีสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวในบริเวณนี้เป็นแบบทะเลน้ำลึก และมีน้ำนิ่งไม่มีคลื่นรบกวน ทำให้บริเวณนั้นมีความเข้มข้นของสารซิลิกาและตะกอนขนาดละเอียดของซากเรดิโอลาเรียที่แขวนลอยมากับน้ำทะเลเกิดการตกสะสมตัว ซึ่งจะเกิดการตกสะสมตัวของสารละลายซิลิกาไปเรื่อยๆแสดงลักษณะของชั้นหินสลับกันตามสภาพแวดล้อมและความเข้มข้นของสารซิลิกาจนเกิดเป็นหินเชิร์ตดังแสดงในแผนภาพที่ 11.1


แผนภาพที่ 11.1 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินเอหนึ่ง  (Unit A1) : หินเชิร์ต (Chert)
อาหารเสริม
กลุ่มศิลาลักษณ์คาร์บอนิเฟอรัสตอนล่าง  (Lower Carbonifereous) 
หน่วยหินบีหนึ่ง  (Unit B1) : หินกรวดมน (Conglomerate)
หินกรวดมนที่มีเนื้อเม็ดเป็นหินเชิร์ต มีขนาด granule – pebble  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ  2.5 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2 ของพื้นที่ทั้งหมด พบทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่การศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขา
                การลำดับชั้นหิน  การสะสมตัวของหน่วยหินนี้ได้มีหลังจากที่เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลอกโลก (Plate tectonic) ทำให้บริเวณนี้เกิดแรงบีบด้านข้างหินเชิร์ตที่มีการสะสมตัวก่อนหน้าเกิดทำให้หินเชิร์ตเกิดการคดโค้งที่มีโครงสร้างหลักเป็นแบบประทุนคว่ำ (anticline) ทำให้หินเชิร์ตเกิดเศษแตกหักและมีการพัดพามาสะสมตัว ซึ่งเป็นการสะสมตัวในขณะที่มีการลดลดลงของระดับน้ำทะเลหรือการยกตัวขึ้นของแผนเปลือกโลกที่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(Plate tectonic) ทำให้หน่วยหินนี้มีการสะสมตัวบริเวณที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (Delta) ที่มีตะกอนขนาดใหญ่ที่พัดพามาจากพื้นทวีปแล้วเกิดการสะสมตัวในบริเวณนี้ ทำให้พบลักษณะของเนื้อหินดังที่พบในหน่วยหินนี้
  
แผนภาพที่ 11.2 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีหนึ่ง  (Unit B1) : หินกรวดมน (Conglomerate)
อาหารเสริม ราคา
หน่วยหินบีสอง  (Unit B2) : หินโคลน แทรกสลับกับหินทราย (Mudstone interbeded Sandstone)
                พบหินโคลน แทรกสลับกับหินทราย โดยที่พบชั้นของหินโคลนหนามากกว่าชั้นหินทราย และพบหินกรวดมน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11.2  ของพื้นที่ทั้งหมด พบมีการกระจายตัวอยู่บริเวณรอบๆ ภูถนน ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ที่ทำการศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลูกฟูก 
การลำดับชั้นหิน สภาพแวดล้อมบริเวณนี้ได้เกิดการยกตัวขึ้นของแผ่นดินหรือการลดลงของระดับน้ำทะเลทำให้ตะกอนเกิดจากการตกสะสมตัวบริเวณ Continental rise ตะกอนขนาดเล็กพวกหินโคลนจึงเกิดการตกสะสมตัวแทรกชั้นกับหินทรายที่มีตะกอนขนาดเล็กมากๆเช่นเดียวกัน จึงเกิดการสะสมตัวของหินโลนแทรกชั้นกับหินทรายตามลักษณะที่พบในหน่วยหินนี้ดังแสดงในแผนภาพที่ 11.3
แผนภาพที่ 11.3 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีสอง  (Unit B2) : หินโคลน แทรกสลับกับหินทราย (Mudstone interbeded Sandstone)
อาหารเสริม ราคาส่ง
หน่วยหินบีสาม (Unit B3) : หินทราย แทรกสลับกับ หินโคลน (Sandstone interbeded  Mudstone)
พบหินทราย แทรกสลับกับหินโคลน โดยที่พบชั้นของหินทรายหนามากกว่าชั้นหินโคลน  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 6.4  ของพื้นที่ทั้งหมด พบอยู่ทิศตะวันนออกของพื้นที่ศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินลูกฟูก
การลำดับชั้นหิน เนื่องจากการสะสมตัวของตะกอนนั้นยังอยู่ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดลงหรือแผ่นดินมีการยกตัวขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ตะกอนที่เกิดการสะสมตัวนั้นมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจากเดิม ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้มีการสะสมตัวของหินทรายแทรกชั้นกับหินโคลนแสดงลักษณะของเนื้อหินตามและการสะสมตัวตามแผนภาพการลำดับชั้นหินแผนภาพที่ 11.4
แผนภาพที่ 11.4 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีสาม  (Unit B3) : หินทราย แทรกสลับกับ หินโคลน (Sandstone interbeded  Mudstone)
ขายอาหารเสริม
หน่วยหินบีสี่  (Unit B4) : หินดินดาน มีเลนส์ของหินปูนแทรก (Shale with Limestone lens)
                พบหินดินดานมีเลนส์ของหินปูนแทรก พบอยู่บริเวณตามทางหลวงหมายเลข 4026 บริเวณบ้านท่าวังแคน และบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเลย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 12  ของพื้นที่ทั้งหมด โดยอยู่บริเวณทิศตะวันตกของพื้นที่ศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และเป็นเนินเตี้ยๆ หินมักโผล่ปรากฏในบริเวณที่เป็นร่องน้ำ บริเวณที่มีการตัดถนน หรือบริเวณที่มีการขุดบ่อน้ำ
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้ บ่งบอกสภาพแวดล้อมการสะสมตัวที่เป็นทะเลตื้น (shallow marine) โดยมีการสะสมตัวของตะกอนขนาดทรายบริเวณชายฝั่งทะเล จึงมีการตกสะสมตัวของตะกอนขนาดทรายแป้งและขนาดดินเหนียวแทรกสลับกับการสะสมตัวของสารละลายคาร์บอเนตในบางบริเวณที่เป็นแอ่งหรือที่ลุ่มและสภาพแวดล้อมเหมาะสมพอที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้จะพบว่ามีหินปูนชั้นบางๆที่เกิดจากการสะสมตัวของสารละลายคาร์บอเนตและพบซากดึกดำบรรพ์สะสมตัวอยู่ร่วมกันภายในเนื้อหินด้วยดังแสดงในแผนภาพที่ 11.5

(m.)
 
แผนภาพที่ 11.5 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีสี่  (Unit B4) : หินดินดาน มีเลนส์ของหินปูนแทรก (Shale with Limestone lens)
ซื้อ อาหารเสริม
หน่วยหินบีห้า  (Unit B5) : หินในเขตรอยเฉือน (Shear Zone)
                พบหินดินดานที่มีเนื้อคล้ายหินชนวน (Slaty Shale) เนื้อหินมีสีน้ำตาล,สีเทาเขียว,สีดำ,สีน้ำตาลแดง ซึ่งแสดงชั้น fissility และ slaty cleavage หินทราย(Sandstone) เนื้อสีเขียว เป็นแบบหินทรายกึ่งแปร (Metasandstone), หินทรายกรวดมน (Conglomeratic Sandstone), หินอัคนีเป็นหินไรโอไลต์ (Rhyolite), หินแอนดีไซต์ (Andesite) ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 4.8  ของพื้นที่ทั้งหมด มีลักษณะภูมิเทศที่เป็นแนวเทือกเขายาวที่มีภูเขาวางซ้อนทับกันหลายๆลูก หินที่พบเป็น มีการกระจายตัววางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้อยู่บริเวณขอบทิศตะวันตกของพื้นที่ศึกษา
 การลำดับชั้นหิน หน่วยหินนี้มีการบ่งบอกสภาพแวดล้อมการสะสมตัวที่เป็นทะเลน้ำลึก (Deep marine) บริเวณที่เป็น Continental rise หรือบริเวณ Abysal plain โดยมีการสะสมตัวของหินดินดาน หินโคลนและพบหินเชิร์ตสะสมตัวเป็นชั้นบางๆ บริเวณทะเลน้ำลึก โดยตะกอนขนาดละเอียดถูกพัดพาจากแผ่นดินลงมาสู่ทะเลลึกโดยมาจากหุบเขาลึกกลางสมุทร ที่มีการสะสมตัวแบบ lateral facies change และบางบริเวณจะพบกระแสความขุ่น (Turbidity current) มีการสะสมตัวของหินกรวดมนที่มีการคัดขนาดเลว (poor sorted) หินทรายตะกอนขนาดละเอียด บางบริเวณพบหินดินดานเนื้อหินชนวน (slaty shale)และหินคาตาคลาไซต์(Catcclasite) ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (Plate tectonic)และบางบริเวณจะพบหินอัคนีที่เกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวด้วย

แผนภาพที่ 11.6 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีห้า  (Unit B5) : หินในเขตรอยเฉือน (Shear Zone)
จำหน่ายอาหารเสริม
หน่วยหินบีหก  (Unit B6) : หินดินดาน  หินโคลนและหินทราย  ( Shale, Mudstone and Sandstone)
                หินที่พบเป็นหินที่ประกอบด้วยหินดินดาน(Shale) หินทราย(Sandstone)  เนื้อสีเขียว และหินโคลน  ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.2  ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบแนวเทือกเขายาวที่มีภูเขาวางซ้อนทับกันหลายๆลูกมีการกระจายตัววางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้อยู่บริเวณขอบทิศตะวันตกของแผนที่ 
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้เป็นการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมที่มีระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไปมา ทำให้พบขนาดของตะกอนในหน่วยหินนี้มีทั้งตะกอนขนาดทรายแป้งที่มีการสะสมตัวในทะเลน้ำลึกที่เป็นหินดินดานกับหินโคลนแทรกสลับกัน และตะกอนขนาดทรายที่มีการสะสมตัวในทะเลน้ำตื้นที่เป็นหินทราย ซึ่งในสภาพแวดล้อมในขณะนั้นเป็นแบบ Lateral facies change จึงทำให้พบลักษณะการสะสมตัวของหน่วยหินนี้ที่มีการสะสมตัวของตะกอนหลายขนาดสะสมตัวแทรกชั้นกัน ดังที่แสดงในเนื้อหินตัวอย่างของหน่วยหินนี้

แผนภาพที่ 11.7 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีหก  (Unit B6) : หินดินดาน  หินโคลนและหินทราย  ( Shale, Mudstone and Sandstone)
อาหารเสริม ราคาทุน
หน่วยหินบีเจ็ด  (Unit B7) : หินกรวดเหลี่ยม ( Breccia)
                พบหินกรวดเหลี่ยมที่มีเนื้อเม็ดเป็นหินเชิร์ต มีขนาด granule – pebble  ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.2  ของพื้นที่ทั้งหมด พบบริเวณขอบทิศตะวันตกของพื้นที่ที่ทำการศึกษา  และพบมีทิศทางการวางตัว 170 องศา มีมุมเอียงเท 25 องศา ลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบแนวเทือกเขายาว มีการวางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้อยู่
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้เกิดจากการตกสะสมตัวของสารละลายซิลิกา ที่มีสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวแบบทะเลน้ำลึก(Deep marine) ที่เป็นบริเวณ Abysal plain ซึ่งแสดงถึงสภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบน้ำนิ่งที่ไม่มีการะแสคลื่นรบกวน ทำให้ตะกอนขนาดละเอียดจำพวกซิลิกาที่มีความเข้มข้นสูงที่เป็นซากเรดิโอราเรียที่แขวนลอยมากับน้ำทะเลตกสะสม หลังจากนั้นได้เกิดเหตุดารณ์การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plate tectonic)และบริเวณนี้น่าจะใกล้กับรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกจึลทำให้พบลักษณะของเนื้อหินมีเศษแตกหักที่เป็นเหลี่ยมคมของหินเดิมอยู่ภายในเนื้อหินและบางบริเวณจะพบลักษณะเนื้อหินมีการเชื่อมตัวกันแน่นขึ้นของสารซิลิกา ดังที่พบในเนื้อหินในหน่วยหินนี้

แผนภาพที่ 11.8 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินบีเจ็ด  (Unit B7) : หินกรวดเหลี่ยม ( Breccia)
ขายส่ง อาหารเสริม

กลุ่มศิลาลักษณ์คาร์บอนิเฟอรัสตอนบน  (Upper Carboniferous)
                หน่วยหินซีหนึ่ง  (Unit C1) : หินโคลน มีเลนส์ของหินปูนแทรก (Mudstone with Limestone lens)
                หินโคลนมีเลนส์ของหินปูนแทรก ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.4  ของพื้นที่ทั้งหมด พบบริเวณรอบผาเดิ่น บ้านวังแคน บ้านห้วยตาด บ้านโคกหินใต้ และบ้านใหม่สันติธรรม โดยอยู่ตรงกลางของพื้นที่การศึกษา  มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สลับกับเนินเขา
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้ หลังจากระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้สภาพแวดล้อมการสะสมตัวที่เป็นทะเลตื้น (shallow marine) โดยมีการสะสมตัวของตะกอนขนาดทรายแป้งบริเวณชายฝั่งทะเล จึงมีการตกสะสมตัวของตะกอนขนาดทรายแป้งและขนาดดินเหนียวแทรกสลับกับการสะสมตัวของสารละลายคาร์บอเนตในบางบริเวณที่เป็นแอ่งหรือที่ลุ่มและสภาพแวดล้อมเหมาะสมพอที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้จะพบว่ามีหินปูนชั้นบางๆที่เกิดจากการสะสมตัวของสารละลายคาร์บอเนตและสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ และหลังจากที่ได้เกิดเหตุการณ์การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(Plate tectonic)จึงพบซากดึกดำบรรพ์สะสมตัวอยู่ร่วมกันภายในเนื้อหินด้วย ดังลักษณะที่พบในหินตัวอย่างของหน่วยหินนี้
แผนภาพที่ 11.9 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินซีหนึ่ง  (Unit C1) : หินโคลน มีเลนส์ของหินปูนแทรก (Mudstone with Limestone lens)
อาหารเสริม ยี้อห้อไหนดี
หน่วยหินซีสอง  (Unit C2) : หินทราย (Sandstone)
                หินทราย ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.6  ของพื้นที่ทั้งหมด มีการกระจายตัวด้านบนของพื้นศึกษา บริเวณทิศตะวันออกของบ้านหนองดอกบัวและมีการวางตัวยาวลงมาถึงอ่างเก็บน้ำ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขา
                การลำดับชั้นหิน หน่วยหินนี้มีสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวที่มีสภาพการตกสะสมตัวเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ(Delta) โดยที่แม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดทรายละเอียด แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ โดยช่วงแรกของการตกสะสม (mouth bar) อาจเป็นตะกอนทรายขนาดใหญ่แล้วบริเวณที่ลาดไหล่ทวีป จึงเป็นตะกอนขนาดเล็กตามลำดับเนื่องจากกระแสน้ำตรงบริเวณนี้มีความเร็วลดลงจนกระทั่งตะกอนทรายขนาดเล็กตกสะสมตัว ซึ่งจากลำดับการตกสะสมตัวเป็นชั้นตะกอนทรายละเอียดหนามาก

แผนภาพที่ 11.10 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินซีสอง  (Unit C2) : หินทราย (Sandstone)
อาหารเสริม pantip
กลุ่มศิลาลักษณ์เพอร์เมียน  (Permian)
หน่วยหินดีหนึ่ง  (Unit D1) : หินโคลน มีเลนส์ของหินปูนแทรก (Mudstone with Limestone lens)
                หินโคลนมีเลนส์ของหินปูนแทรก ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 11 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.8  ของพื้นที่ทั้งหมด  พบบริเวณรอบผาเดิ่น ภูผากลางดง ภูผายา ภูผาดำ และผาดำ โดยมีแนวต่อเนื่องลงมาจากภูตูม โดยอยู่บริเวณตรงกลาง มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สลับกับเนินเขา
การลำดับชั้นหิน หน่วยหินนี้มีการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมการสะสมตัวที่เป็นทะเลตื้น (shallow marine) ที่เกิดจากระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้จึงมีการตกสะสมตัวของตะกอนขนาดทรายแป้งและขนาดดินเหนียวแทรกสลับกับการสะสมตัวของสารละลายคาร์บอเนตในบางบริเวณที่เป็นแอ่งหรือที่ลุ่ม และสภาพแวดล้อมเหมาะสมพอที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้จึงพบว่ามีหินปูนชั้นบางๆที่เกิดจากการสะสมตัวของสารละลายคาร์บอเนต และสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้จึงทำให้พบซากของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้เกิดเหตุการณ์การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(Plate tecctonic)จึงทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เกิดการล้มตายเป็นจำนวนมากสะสมตัวอยู่ร่วมกันภายในเนื้อหินปูนและหินโคลน ดังลักษณะที่พบในหินตัวอย่างของหน่วยหินนี้
แผนภาพที่ 11.11 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินดีหนึ่ง  (Unit D1) : หินโคลน มีเลนส์ของหิน ปูนแทรก (Mudstone with Limestone lens)
อาหารเสริม ร้านขาย

หน่วยหินดีสอง  (Unit D2) : หินปูน (Limestone )
หินปูน ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 9.6  ของพื้นที่ทั้งหมด พบบริเวณที่สูงที่สุดของบริเวณที่ทำการศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบคาสต์ (Karst Topography) พบลักษณะที่เป็นหน้าผาสูง ถ้ำ โพรง และหยุมยุบ  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าภูเขาและหน้าผาสูง  พบมีก้อนหินเชิร์ต (chert nodule) แทรกชั้นในเนื้อหินงและพบซากดึกดำบรรพ์จำพวกไครนอยด์สเต็ม (crinoids stem) และเวอร์บีกินา เวอร์บิกี (Verbeekina Verbeeki) มีการกระจายตัวอยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันตกของบ้านวังแคนและอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านห้วยตาดอยู่กลางพื้นที่ที่ทำการศึกษา  
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้ มีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวที่เป็นทะเลตื้น (shallow marine) โดยมีการสะสมตัวของสารคาร์บอเนตที่มีความเข้มข้นสูง ร่วมกับการลดลงของระดับน้ำทะเลหรือการยกตัวของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ตะกอนจำพวกคาร์บอเนตเกิดการตกสะสมตัว และเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้จึงทำให้พบซากของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้เกิดเหตุการณ์การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(Plate tecctonic)จึงทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เกิดการล้มตายเป็นจำนวนมากสะสมตัวอยู่ร่วมกันภายในเนื้อหินปูน ดังนั้นจึงทำให้พบซากดึกดำบรรพ์แทรกอยู่ภายในเนื้อของชั้นหินปูนดังที่ได้เห็นในหน่วยหินนี้
แผนภาพที่ 11.12 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินดีสอง  (Unit D2) : หินปูน (Limestone )
อาหารเสริม สิบเอ็ด
หน่วยหินดีสาม  (Unit D3)เชิร์ต (Chert )
หินเชิร์ต ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.8  ของพื้นที่ทั้งหมด หินโผล่ปรากฏชัดเจน พบเกิดแทรกสลับกับหินปูน โผล่ปรากฏบริเวณทิศตะวันตกของผาดำ และพบบริเวณริมทางหลวงหมายเลข 3117 มีลักษณะภูมิประเทศภูเขา
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้เป็นการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมทะเลน้ำลึก ซึ่งเกิดจากการตกสะสมตัวของสารละลายซิลิกา ซึ่งแสดงถึงสภาพแวดล้อมแบบน้ำนิ่ง ทำให้ตะกอนขนาดละเอียดของซากเรดิโอราเรียที่แขวนลอยมากับน้ำทะเลตกสะสม ซึ่งจะเกิดการตกสะสมตัวของสารละลายซิลิกามีการสะสมตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ได้มีการลดลงของระดับน้ำทะเล และทำให้สภาพแวดล้อมในบริเวณนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่เป็นพวกปะการัง และต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(Plate tectonic) จึงทำให้พบซากของสิ่งมีชิตสะสมตัวอยู่ในเนื้อหิน ดังที่พบในลักษณะของเนื้อหินหน่วยนี้


แผนภาพที่ 11.13 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินดีสาม  (Unit D3) :  เชิร์ต (Chert )
อาหารเสริม สิบสอง
หน่วยหินดีสี่  (Unit D4)หินกรวดเหลี่ยมเนื้อเชิร์ต (Chert breccia )
หินกรวดเหลี่ยมเนื้อเชิร์ต ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 0.3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.24  ของพื้นที่ทั้งหมด บริเวณทิศตะวันออกของบ้านนาน้ำมันหรือข้างผาเดิ่น มีลักษณะภูมิประเทศแบบเนินเขา
การลำดับชั้นหิน การสะสมตัวของหน่วยหินนี้เกิดจากการตกสะสมตัวของสารละลายซิลิกา ที่มีสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวแบบทะเลน้ำลึก(Deep marine) ที่เป็นบริเวณ Abysal plain ซึ่งแสดงถึงสภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบน้ำนิ่งที่ไม่มีการะแสคลื่นรบกวน ทำให้ตะกอนขนาดละเอียดจำพวกซิลิกาที่มีความเข้มข้นสูงที่เป็นซากเรดิโอราเรียที่แขวนลอยมากับน้ำทะเลตกสะสม หลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plate tectonic)และบริเวณนี้น่าจะใกล้กับรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกจึงทำให้พบลักษณะของเนื้อหินมีเศษแตกหักที่เป็นเหลี่ยมคมของหินเดิมอยู่ภายในเนื้อหินและบางบริเวณจะพบลักษณะเนื้อหินมีการเชื่อมตัวกันแน่นขึ้นของสารซิลิกา ดังแสดงในลักษณะของเนื้อหินในหน่วยนี้
แผนภาพที่ 11.14 แสดงการลำดับชั้นหินของหน่วยหินดีสี่  (Unit D4) :  หินกรวดเหลี่ยมเนื้อเชิร์ต (Chert breccia)
อาหารเสริม สิบสาม
ตะกอนน้ำพายุคควอเตอร์นารี (Quaternary)  
หน่วยหิน  Qa  ( Unit Qa) ตะกอนน้ำพายุคควอเตอร์นารี (Quaternary)  
พบในบริเวณที่ราบใกล้แม่น้ำเลย  ครอบคลุมพื้นที่ 0.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ลักษณะของหน่วยหินคิวเอ ประกอบไปด้วยตะกอนน้ำพา (alluvium deposit) ซึ่งเป็นตะกอนขนาดทราย (sand) ทรายแป้ง (silt) และตะกอนขนาดละเอียดมาก (mud and clay size)

กลุ่มศิลาลักษณ์ไทรแอสสิก (Triassic)
หินอัคนี (Igneous  rocks)
ผลการสำรวจพื้นที่ศึกษา ระวางบ้านสูบ 5344 II บริเวณอำเภอเมืองถึงอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย พบลักษณะของหินอัคนีผุและหินอัคนีแทรกซอนกระจายตัวเป็นหย่อมๆทั่วบริเวณที่ศึกษาพบการกระจายตัวโดยทั่วไป ซึ่งสามารถแบ่งหน่วยหินได้ดังนี้ประกอบด้วยหน่วยหิน 3 หน่วยหิน ดังนี้

                หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive rock)
หน่วยหินอีหนึ่ง (Unit E1)  : หินแกรนิต (Granite)
                หินแกรนิต ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.8  ของพื้นที่ทั้งหมด พบบริเวณทิศตะวันออกของบ้านวังแคน และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านห้วยตาด ลักษณะทางภูมิประเทศแบบเนินเขา ภูเขา


หินอัคนีพุ (Extrusive rock)
หน่วยหินเอฟหนึ่ง (Unit F1)  : หินแอนดีไซค์  (Andesite)  
 หินแอนดีไซค์ ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 0.6 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.48  ของพื้นที่ทั้งหมด พบอยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกของภูถนนและอยู่ทางด้านทิศตะวันใต้ของร่มเย็น ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่การศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศแบบเนินเขา

หน่วยหินเอฟสอง (Unit F2)  : หินไรโอไลต์ (Rhyolite
หินไรโอไลต์ ไซค์ ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 0.6 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.48  ของพื้นที่ทั้งหมด  มีการกระจายตัวอยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกของภูถนนและอยู่ทางด้านทิศตะวันใต้ของร่มเย็น ซึ่งอยู่ขอบทางด้านทิศตะวันออกสุดของพื้นที่ที่ทำการศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขา
หินแปร (Metamorphic rocks)   
ผลการสำรวจพื้นที่ศึกษา ระวางบ้านสูบ 5344 II บริเวณอำเภอเมืองถึงอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย พบหินแปร ซึ่งสามารถแบ่งหน่วยหินได้ดังนี้ประกอบด้วยหน่วยหิน 1 หน่วยหิน ดังนี้

หน่วยหินจีหนึ่ง  (Unit G1)  : หินอ่อน (Marble)
หินอ่อน ครอบครุมพื้นที่ประมาณ 0.1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.08  ของพื้นที่ทั้งหมด  ด้านบนของพื้นศึกษา บริเวณทิศตะวันออกของบ้านหนองดอกบัว ครอบคลุมพื้นที่ 0.1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 0.08 % ของพื้นที่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขาเตี้ย
 โครงสร้างทางธรณีวิทยา ที่พบในพื้นที่ศึกษา มีดังนี้
1.ชั้นหินคดโค้ง (folds)
2.แนวแตกเรียบ (Cleavage)
3.รอยแยก (joints
4.รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformity)
1.ชั้นหินคดโค้ง (folds)
                ธรณีวิทยาโครงสร้างที่พบในพื้นที่ที่ศึกษาในบริเวณนี้เป็นโครงสร้างใหญ่รูประทุนหงา(syncline) ซึ่งมีเทรนด์ (trend) 160 องศา  มีมุมพลันจ์  (plunge) 10 องศา และมีแนวการคดโค้งรอง (detail fold) ภายใน   ทางตอนกลางของพื้นที่ศึกษาบริเวณภูเขาหินปูนที่เป็นหน้าผาชัน ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์พบมีแนวการวางตัวด้านทิศตะวันตก  80 องศา มีมุมเอียงเท 30 องศา และหินโผล่บริเวณทิศตะวันออก มีแนวการวางตัว 330 องศา มีมุมเอียงเท 35 องศา  และพบโครงสร้างรูปประทุนคว่ำ (anticline) บริเวณภูถนน ด้านตะวันออกของพื้นที่ วัดแกนการคดโค้งมีแนวเทรนด์ 340 องศา  มีมุมพลันจ์  (plunge)  4 องศา

2 แนวแตกเรียบ (Cleavage)
                แนวแตกเรียบในพื้นที่ศึกษาพบในหน่วยหินบีสี่ หินดินดานมีเลนส์ของหินปูนแทรก และหน่วยหินบีห้า หินในเขตรอยเฉือนโดยแนวแตกเรียบ (Cleavage) มักพบในหินดินดานที่พบเป็นผลมาจากกระบวนการแปรสภาพ.จะพบเป็นแนวแตกที่เป็นระนาบเรียบ พบในหินตามแนวทุติยภูมิที่เกิดจากการเรียงตัวใหม่ของแร่ แนวแตกเรียบที่พบ เป็นโครงสร้างแบบไม่ทะลุทะลวง (non-penetrative structure) พบตัดเข้าไปในเนื้อหินในทิศทางต่างๆ ไม่ต่อเนื่องกัน แนวแตกเรียบที่พบ มีการวางตัว 50 องศา มุมเอียงเท 55 องศา

3.รอยแยก (joints
มี 3 ชุด ดังนี้
ชุดที่1. มีทิศทาง NNE-SSW
ชุดที่2. มีทิศทาง NW-SE  
ชุดที่3. มีทิศทาง NE-SW
3.เขตรอยเฉือน (shear zone)
                แสดงในหน่วยหินบี 5โดยแนวการเฉือนถูกบันทึกในหินคาตาคลาไซต์ โดยมีแนวการเฉือนในทิศทางเหนือ ใต้
4.รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformity)
   ในพื้นที่ที่ศึกษาพบรอยชั้นไม่ต่อเนื่องเป็นแบบรอยชั้นไม่ต่อเนื่องคงระดับ (disconformity)เป็นรอยชั้นไม่ต่อเนื่องที่หินอายุแก่และอายุอ่อน วางตัวขนานกัน มีการเอียงตัวเท่ากัน เกิดจากหินอายุแก่สะสมตัวและยกตัวขึ้น แต่ไม่เกิดชั้นหินคดโค้งเมื่อหินอายุอ่อนมาสะสมตัวภายหลัง จึงทำให้หินทั้งสองอายุมีการเรียงตัวขนานกันไป โดยพบการวางตัวอยู่ทางตะวันตกของพื้นที่ศึกษา หน่วยหินบีสี่  (Unit B4) : หินดินดาน มีเลนส์ของหินปูนแทรก (Shale with Limestone lens) ที่วางตัวเฉียง

บทวิจารณ์และเสนอแนะ
                1.  ในการปฏิบัติงาน นักศึกษาจะต้องปรับตัวเข้าหาเพื่อนร่วมงานเพื่อที่จะได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในการปฏิบัติงานอาจมีปัญหาจากการจดเนื้อหาและรายละเอียดเมื่อออกภาคสนามได้ไม่ชัดเจนและไม่ครบถ้วนนักจึงต้องมีการจับกลุ่มเพื่อรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ออกมาร่วมกันอีกที
                3. ในการปฏิบัติงานนักศึกษาจะต้องมีการวางแผนในการทำงาน มีการแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน มีการกระจายงานกับเพื่อนทุกคนเพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการทำงานและไม่มีการเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน
                4. ในการปฏิบัติงานเมื่อมีปัญหาความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ควรมีการจับกลุ่มอภิปรายหาข้อสรุปของปัญหานั้นและยอมรับในความคิดเห็นของเสียงข้างมากซึ่งความเห็นส่วนมากนั้นจะต้องมีหลักฐานอ้างอิงด้วย หากไม่ได้ข้อสรุปควรนำปัญหานั้นไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อหาข้อสรุปที่ถูกต้องยอมรับมาประกอบการทำรายงาน
                5.  ในการปฏิบัติงานเมื่อนักศึกษามีการรวมกลุ่มประชุมงานเพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลโดยรวมแล้วนักศึกษาต้องมีความมั่นใจในความคิดเห็นของตนเอง และในความคิดเห็นของตนเองนั้นต้องมีเหตุผลและหลักฐานมาอ้างอิงประกอบในสิ่งที่ตนเองคิดด้วย
                6.   ในการปฏิบัติงาน นักศึกษาควรมีหนังสือหรือเอกสารต่างๆเพื่อใช้ในการอ้างอิงและนำมาใช้ค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อประกอบในการทำรายงาน และการนำหนังสือหรือเอกสารต่างๆมาประกอบกับการทำรายงานควรเลือกหนังสือหรือเอกสารต่างๆที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือและเป็นที่